Q&A
ความหอมจากผืนป่ามาจากไหน?
มนุษย์นำสมุนไพรมาประยุกต์เป็นอาหารและยารักษาโรคมานานนับพันปีแล้ว เช่นเดียวกับที่สกัดกลิ่นจากพรรณไม้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหอม กระนั้นก็ดีในปี ค.ศ. 1928 ดร.บอริส พี. โทคิน (Dr.Boris P. Tokin) นักชีววิทยาชาวรัสเซีย ได้ค้นพบองค์ประกอบของสารเคมีในเนื้อเยื่อพืชที่เรียกว่า ‘ไฟตอนไซด์’ (Phytoncide) ที่ช่วยไขความลับของคุณประโยชน์จากพืชพรรณที่มีต่อมนุษย์ เพราะในขณะที่หน้าที่แท้จริงของสารประกอบชนิดนี้คือการยับยั้งและป้องกันแมลงหรือเชื้อโรคต่างๆ ไม่ให้เข้ามาทำลายพืช หากสารหลายชนิดก็มีกลิ่นหอม และส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์ ทั้งการทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า หรือทำให้ผ่อนคลาย เป็นต้น
ความลับในกลิ่นหอมของธรรมชาติ?
ทฤษฎีไฟตอนไซด์ของ ดร.บอริส พี. โทคิน ยังช่วยยืนยันถึงคุณประโยชน์ของกิจกรรมสันทนาการของมนุษย์ที่มีต่อป่าอย่าง ‘การอาบป่า’ (forest bathing) หรือ Shinrin-Yoku ที่ริเริ่มในประเทศญี่ปุ่น จากเดิมที่เชื่อกันว่าการอาบป่าช่วยสร้างสมาธิ ความผ่อนคลาย และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ หากเมื่อมีการทดสอบค่าเลือดของผู้เข้าร่วมกิจกรมการอาบป่าเป็นประจำ พบว่ามีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สูงขึ้นกว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ต่อมาจึงพบความเกี่ยวเนื่องของสารหอมไฟตอนไซด์ที่พืชปล่อยออกมากับร่างกายของมนุษย์ เพราะเมื่อสารหอมดังกล่าวเข้าใปในร่างกายมนุษย์ มันจะช่วยกระตุ้นภูมิโดยรวมหากได้รับอย่างเหมาะสม
LANA เก็บกักสารหอมจากธรรมชาติให้คงอยู่ยาวนานได้อย่างไร?
แม้สารหอมไฟตอนไซด์จากให้คุณประโยชน์แก่ร่างกายมนุษย์และมีผลข้างเคียงหรือสารตกค้างน้อยถึงน้อยมากเมื่อเทียบกับยาที่ผ่านกระบวนการเคมี แต่อุปสรรคสำคัญคือการที่สารดังกล่าวมีฤทธิ์ในระยะสั้น หรือมีความเสถียรที่ไม่มากพอ ด้วยเหตุนั้นทางทีมวิจัยจึงใช้อนุภาคไขมันระดับนาโนเมตร (Lipid nanoparticles; LN) หรือไขมันนาโน มาทำหน้าที่เก็บกักสารหอมจากธรรมชาตินั้นไว้ ก่อนนำไปประยุกต์สู่ผลิตภัณฑ์อันหลากหลายต่อไป ทำให้ผลิตภัณฑ์ของ LANA สามารถสร้างบรรยากาศเสมือนอยู่ในธรรมชาติให้กับผู้ใช้ได้ทุกที่และทุกเวลาทั้งนี้การใช้ไขมันนาโนยังช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมการปลดปล่อยยา เพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ เพิ่มการดูดซึมและควบคุมอัตราการปลดปล่อยได้ รวมถึงสามารถปรับแต่งเพื่อให้นำส่งไปที่อวัยวะเป้าหมายอย่างจำเพาะได้ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากผลิตด้วยสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำ และเข้ากันได้กับร่างกาย และยังสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอีกด้วย
สารหอมในผลิตภัณฑ์ LANA ออกฤทธิ์อย่างไร?
ปัจจุบันมีการค้นพบสารไฟตอนไซด์ในพืชที่ให้ฤทธิ์ต่างๆ มาถึง 5,000 ชนิดทั่วโลก หากทีมวิจัยได้จำกัดพื้นที่การเก็บสารหอมมาใช้ในผลิตภัณฑ์จากผืนป่าในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง โดยในเบื้องต้นเราได้คัดเลือกและพัฒนาสารหอมที่ช่วยแก้หรือหนุนเสริมกลุ่มอาการที่เป็นปัญหายอดนิยมของผู้คนในปัจจุบัน ดังนี้
LANA เป็นผลิตภัณฑ์อโรมาโคโลจี ซึ่งแตกต่างจากอโรมาเทอราพีอย่างไร?
คำว่า ‘อโรมาเทอราพี’ (Aromatherapy) หรือสุคนธบำบัด เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยโดยการใช้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ ซึ่งใช้กันมามากกว่า 5,000 ปี ส่วนคำว่า ‘อโรมาโคโลจี’ (Aromachology) ได้รับการนิยามขึ้นภายหลังในปี 1982 โดย Sense of Smell Institute (SSI) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการนำคำสองคำ คือ Aroma หมายถึง กลิ่น และ Psychology หมายถึง จิตวิทยาหรือการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกของมนุษย์ มารวมกัน
โดยศาสตร์นี้จำเพาะไปที่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงอิทธิพลของกลิ่นต่ออารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ครอบคลุมทั้งกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติและกลิ่นสังเคราะห์ เน้นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าโดยเฉพาะกับสปา เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย เป็นการสร้างประสบการณ์และความประทับใจต่อผลิตภัณฑ์
รู้ได้อย่างไรว่ากลิ่นจากสารหอมนั้นส่งผลต่อร่างกายเราจริงๆ?
ทีมวิจัยได้ทำการศึกษาผลของตำรับสารหอมในระดับคลินิก โดยใช้แบบประเมินภาวะทางอารมณ์ในระดับสากลของ MHS assessment ประกอบไปด้วย การทดสอบภาวะทางอารมณ์ด้านบวก เช่น ความกระตือรือร้น ความกระฉับกระเฉง และการทดสอบภาวะทางอารมณ์ด้านลบ เช่น ความแปรปรวนของอารมณ์ ความเครียด ความวิตก ร่วมกับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความเครียดที่เกิดขึ้นในน้ำลาย ได้แก่ สารสื่อประสาท และฮอร์โมนแห่งความเครียด (Cortisol)
อีกทั้งทีมวิจัยยังได้ร่วมงานกับ ผศ. ดร. ภัครวรรธน์ สิทธิประภาพร หัวหน้าหน่วยวิจัยนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมด้านสมอง สำนักเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทำการศึกษาคลื่นสมองของอาสาสมัครผู้ที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ของ LANA และพบว่าผลหลังการใช้สอดคล้องกับการทดสอบภาวะทางอารมณ์ในระดับคลินิกด้วยเช่นกัน
กลิ่นหอมจากป่าบำบัดคนในเมืองได้อย่างไร?
ไม่เฉพาะผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่าผลิตภัณฑ์ LANA ช่วยลดความรู้สึกทางลบหรือส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ หากกลิ่นหอมอันเฉพาะตัวจากผืนป่าในภาคเหนือของไทย ยังมีส่วนเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองภายใต้ความตึงเครียดประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำงานที่บ้าน จนนำมาสู่ภาวะสมาธิสั้น กลิ่นหอมจากผลิตภัณฑ์ LANA ก็ช่วยให้เราโฟกัสกับงานที่ต้องรับผิดชอบ และช่วยผ่อนคลายความเครียด เปลี่ยนความจำเจของบ้านหรือสำนักงาน ให้เสมือนหนึ่งอยู่ท่ามกลางผืนป่าอันแสนสดชื่น